โลกของเรามีการปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ทั้งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และเกิดจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เดี๋ยวนี้ชีวิตมนุษย์แทบจะเรียกได้ว่าดำเนินไปด้วยเทคโนโลยี เราใช้เทคโนโลยีทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันแทบจะ 90% ซึ่งการศึกษาก็รวมอยู่ในนั้นด้วย ในอนาคตหากโลกของเราก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีอย่างจริงจัง การศึกษารูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน ต้องมีการปรับเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน บทความในวันนี้ จึงขอนำเสนอ 7 การศึกษารูปแบบใหม่ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนจะมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย

7 การศึกษารูปแบบใหม่ ในยุคเทคโนโลยี

1. Coding Literacy

เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มตัว เทคโนโลยีหนึ่งอย่างที่จะมีบทบาทสำคัญกับการศึกษา และการใช้ชีวิตของมนุษย์ก็คือหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ถูกควบคุมด้วยระบบ AI  ที่มีภาษาในการสื่อสารและใช้งานแบบตายตัว ดังนั้น ‘ภาษา’ สำคัญในโลกยุคอนาคต จึงไม่ใช่แค่ภาษาที่สื่อสารกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์อีกต่อไป แต่เป็นภาษาที่เราใช้สื่อทำความเข้าใจกับระบบคอมพิวเตอร์ ทักษะในเรื่องการอ่านโค้ดและเขียนโค้ด จะไม่ได้จำกัดแค่กลุ่มคนที่เรียนเรื่องเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ผู้เรียนทุกคนจะต้องเรียนวิชาเหล่านี้เป็นพื้นฐาน ดังที่ Annette Vee ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านภาษาอังกฤษจาก University of Pittsburgh เคยบอกเอาไว้ว่าความเข้าใจเรื่อง code จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ภาษา (literacy) ที่ไม่ได้อยู่แค่ในภาควิชาคอมพิวเตอร์ แต่มันคือทักษะสำคัญของมนุษย์ทุกคนั่นเอง

2. Student as Creators

การศึกษาของเราในยุคปัจจุบัน จะเน้นผู้เรียนเป็นฝ่ายรับสิ่งต่าง ๆ จากผู้สอนหรือครูอาจารย์อย่างเดียว แต่หากเราก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนการศึกษา ผู้เรียนอาจจะไม่ใช้ฝ่ายรับความรู้เพียงอย่างเดียว ด้วยพลังของเทคโนโลยีที่เปิดโอกาสให้ใครก็ตามสามารถผลิต และสร้างผลงานของตัวเองได้ เพียงแค่ท่านมีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมในมือ ดังนั้น การเรียนรู้ในโลกอนาคต นักเรียนจะมีการเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับ (passive) เป็นผู้สร้าง (active) ซึ่งความจริงแล้วทุกวันนี้ เรามีนักสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างผลงานอันน่าทึ่งจากโทรศัพท์มือถือ และจากโปรแกรมต่าง ๆ อยู่มากมาย แค่มันอาจจะยังไม่ครอลคลุมทั้งหมด แต่ในอานาคตท่านจะได้เห็นภาพเหล่านี้เป็นวงกว้างแน่นอน

7 การศึกษารูปแบบใหม่ ในยุคเทคโนโลยี

3. Empathy and Emotion Understanding

การศึกษาในยุคใหม่จะเน้นเรื่องการสร้างมนุษย์ แต่สร้างมนุษย์ในที่นี้ เป็นการสร้างแบบคือการสร้างมนุษย์ในรูปแบบทักษะการทำงาน หรือการใช้ชีวิตกับคนหมู่มาก ซึ่งประเด็นนี้กำลังเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างมากในปัจจุบัน หลายคนเป็นบุคลากรทางการศึกษาชั้นดี แต่พอจบจากสถาบันต่าง ๆ ไปเริ่มใช้ชีวิตในสังคมทำงาน กลับมีปัญหาในด้านการเข้ากับคนอื่น ๆ  ดังนั้นประเด็นเรื่องความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจผู้อื่น จึงถูกรวบรวมเอามาไว้ในการส่งเสริมความเป็นมนุษย์ เพิ่มเติมความเข้าอกเข้าใจทั้งตนเองและผู้อื่น ให้ผู้เรียนสามารถออกไปใช้ชีวิตในที่ทำงาน หรือใช้ชีวิตในสังคมที่กว้างกว่าห้องเรียนได้

4. Collaborative learning

ห้องเรียนในอนาคตจะมีการเน้นเรื่องแนวคิดของการใช้เครื่องมือยุคใหม่ เพื่อทลายข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ ไปจนถึงกลุ่มคน ให้คนสามารถเชื่อมโยงกันได้ ด้วยเทคโนโลยี โดยไม่จำเป้นต้องขึ้นอยู่กับใครคนใดคนหนึ่ง มนุษย์เราทุกวนันี้มักชินกับความสำเร็จส่วนบุคคล เชิดชูความอัจฉริยะของคนแค่คนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วโลกของการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ การลงมือทำ หรืออื่น ๆ มันต้องมาจากคนหลาย ๆ คน หรือต้องทำงานกันเป็นทีม เทคโนโลยีจึงจะกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยเชื่อมโยง และแก้ปัญหาต่าง ๆ ผ่านแพลตฟอร์มของ     กูเกิล ที่ช่วยให้คนทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. Family and Community Involvement

การศึกษาในโลกอนาคต จะไม่ใช่แค่ภาระของโรงเรียนหรือครูอาจารย์อีกต่อไป แต่เป็นหน้าที่ของครอบครัวและชุมชน สถาบันสองรูปแบบนี้จะต้องร่วมกันส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ๆ ให้มีความรู้รอบด้าน เพราะการศึกษาไม่ได้จำกัดแค่ในห้องเรียน ทุกย่างก้าวของเด็ก ล้วนเป็นการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เสมอ ฉะนั้น หากหน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ หันมาสนใจเรื่องนี้ และดำเนินการให้เป็นกิจจะลักษณะ เด็ก ๆ ก็จะได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม และรอบด้านมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัว

6. Individualized Learning

เด็กแต่ละคนจะมีลักษณะพิเศษ และความสามารถเฉพาะตัวต่างกันออกไป ฉะนั้น ปัญหาการเรียนรู้แบบเดิม ๆ ที่เน้นมาตรฐานหลักเพียงอย่างเดียว แต่เอามาใช้กับเด็กทุกคน ซึ่งมีความถนัดไม่เท่ากัน จะใช้ไม่ได้อีกต่อไป การศึกษาสมัยใหม่เห็นว่าความแตกต่างของเด็กแต่ละคน ต้องการการรูปแบบการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า หากท่านพัฒนาเด็ดแต่ละคนได้ตรงจุด  เด็ดเหล่านั้นก็จะโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ พร้อมกลับมาสร้างผลงาน และคุณประโยชน์ให้คนในประเทศชาติ ตามความถนัดของตัวเองได้เป็นอย่างดี

7. Redesigning learning Spaces

การศึกษาของไทยในปัจจุบัน มีลักษณะที่เป็นแบบแผนตายตัว มีครูมายืนหน้าชั้นเพื่อพูดให้ความรู้ต่าง ๆ กับผู้เรียน ซึ่งนักเรียนจะเป็นรับเพียงฝ่ายเดียว แต่ห้องเรียนในโลกสมัยใหม่ ควรเปลี่ยนรูปแบบการคิดพัฒนาและออกแบบใหม่ไปสู่ห้องเรียนที่ยืดหยุ่นได้ ห้องเรียนต้องเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ จับกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดกันได้อย่างอิสระ ที่สำคัญห้องเรียนต้องพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมกระบวนการความคิดของนักเรียนด้วย

นี่คือ 7 การศึกษารูปแบบใหม่ ในโลกเทคโนโลยี ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้แน่นอน ส่วนประเทศไทยจะนำรูปแบบไหนใน 7 รูปแบบนี้มาปรับใช้บ้าง ต้องรอติดตามในอนาคต

อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม : กินข้าวเหนียว แล้วทำไมถึงง่วงนอน ?